SMEยุทธวิธีเศรษฐีใหม่- ‘ส่งเสริมSME’ มีกรณีศึกษาอังกฤษน่าสนใจ
หลายคนมักชอบกล่าวว่า “โอกาสมีอยู่เสมอสำหรับคนที่มองเห็น” แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในโลกความเป็นจริงแล้วนั้น มีคนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ยังไม่มีโอกาสได้เห็นแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งจากสถานการณ์นี้เอง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และทีดีอาร์ไอ จึงได้ร่วมกันศึกษาแนวทางสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ SME ได้เข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาคเอกชน (Corporate Procurement) โดยแนวทางในเรื่องนี้ ได้มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ทีดีอาร์ไอไว้ ผ่านบทความแนะนำของ เทียนสว่าง ธรรมวณิช และ ยศ วัชระคุปต์ ที่ได้หยิบยกนำ “กรณีศึกษาอังกฤษ” มาเป็นข้อมูลในเรื่องนี้ ที่คอลัมน์นี้ขออนุญาตหยิบยกมานำเสนอต่อในวันนี้…ส่วนจะเช่นไรนั้นต้องมาดู…คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ ในบทความฉายภาพเรื่องนี้ว่า “อังกฤษ” มีกรณีตัวอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้กลไกการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ SME สามารถเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ได้มากขึ้น โดยกลไกนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่กรุงลอนดอน ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2012 โดยแม่งานสำคัญอย่าง London Development Agency (LDA) และ Olympic Delivery Authority (ODA) ได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มหนึ่งขึ้นมาที่มีชื่อว่า CompeteFor เพื่อให้เอสเอ็มอีมีโอกาสได้ขายสินค้าหรือบริการให้แก่แม่งานและธุรกิจที่เป็นคู่สัญญา รวมถึงมีโอกาสได้รับเหมาช่วงต่อจากธุรกิจที่เป็นคู่สัญญาที่รับงานจากแม่งาน ตั้งแต่โครงการก่อสร้าง รวมถึงการจัดซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ ตลอดจนการจ้างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยแพลตฟอร์มที่ชื่อ CompeteFor นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกทางธุรกิจให้ทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งจุดเด่นแรกของแพลตฟอร์มนี้ คือมีบริการสร้างแบบสอบถามให้ผู้ซื้อได้เลือกใช้ 2 แบบ ได้แก่ แบบสอบถามมาตรฐานและแบบสอบถามที่ผู้ซื้อตั้งคำถามได้เอง และเลือกตอบได้ทั้งแบบปลายปิด หรือแบบมีหลายคำตอบให้เลือก นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังสามารถกำหนดคะแนนให้คำถามในแต่ละข้อได้ โดยระบบจะนำข้อมูลและคำตอบที่ได้จากผู้ขายไปคำนวณ จนได้รายชื่อผู้ขายที่ผ่านการคัดกรอง ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกกำหนดให้ประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดการใช้ดุลพินิจ
สำหรับอีกหนึ่งจุดเด่นต่อมาของแพลตฟอร์มนี้ ที่ประเทศอังกฤษนำมาใช้ นั่นก็คือ การรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทุกลำดับชั้น ตั้งแต่คู่สัญญาหลักกับภาครัฐ จนถึงคู่ค้าลำดับแรก ลำดับที่สอง รวมถึงลำดับอื่น ๆ ซึ่งสามารถสืบค้นได้อย่างง่ายดาย ทำให้ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีมีโอกาสได้งานเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่และเอสเอ็มอีด้วยกันเอง ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์มนี้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือการมีคณะทำงานประสานงานใกล้ชิดกับผู้ซื้อ จนทำให้ผู้ซื้อสามารถประกาศข่าวการจัดซื้อจัดหาของตนผ่านแพลตฟอร์มกลางได้สะดวกรวดเร็ว
ทั้งนี้ จากกรณีตัวอย่างนี้ ทางผู้เขียนบทความนี้ได้กล่าวไว้ในบทความนี้ว่า ทางคณะทำงานของทีดีอาร์ไอ และ สสว. ค้นพบ “3 บทเรียนที่สำคัญ” จาก “กรณีศึกษาอังกฤษ” ได้แก่ 1.การมีผู้ซื้อหลายลำดับชั้นในจำนวนที่มากพอ มีผลต่อความอยู่รอดของแพลตฟอร์ม 2.การมีคณะทำงานเพื่อประสานงานฝั่งผู้ซื้อเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะแค่การใช้เทคโนโลยีรวมศูนย์ข้อมูลอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ 3.แพลตฟอร์มจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน และสามารถสร้างโอกาสให้แก่ฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายได้เท่า ๆ กัน และนี่เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการสนับสนุนเอสเอ็มอี ที่ไทยใช้เป็นกรณีศึกษาได้.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ [email protected]